สายด่วน คุณขุนเดช เกษตรมืออาชืพ :
085-3554651
081-4514063
บีทีเคอร์สตาร์กี้มิกซ์โอดี
เชื้อแบคทีเรียน Bacillus thuringiensis หรือเรียกว่าเชื่อ บีที (Bt) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จัดเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์สามารถนำมาใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช และศัตรูมนุษย์ได้หลายชนิด เนื่องจากมีความเฉพาะเจาะจงสูงในการทำลายเฉพาะแมลงเป้าหมายเท่านั้นเชื้อบีที จึงเป็นจุลินทรีย์ที่มีความปลอดภัยสูงต่อมนุษย์ สัตว์เลือดอุ่น ปลา และนก รวมทั้งแมลงที่มีประโยชน์ เช่น ผึ้ง แมลงห้ำและแมลงเบียน เป็นต้น จากข้อดีของความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมาย ปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ทั่วโลกจึงได้มีการวิจัยและพัฒนาเชื้อบีทีอย่างกว้างขวาง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำมาใช้เป็นสารชีวินทรีย์ควบคุมแมลงศัตรูพืช และศัตรูมนุษย์
รูปร่างลักษณะของเชื้อบีที (Bt)
เชื้อบีทีเป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูงถึง 400 เท่า จึงจะสามารถมองเห็นได้ เชื้อบีทีมีรูปร่างเป็นแท่ง ความกว้างประมาณ 0.5 – 0.8 ไมโครเมตร ยาว 1.0 – 3.0 ไมโครเมตร สามารถสร้างสปอร์และสารพิษภายในเซลล์ของมัน เราเรียกสารพิษนี้ว่า เดลต้า – เอ็นโดท็อกซิน (delta – endotoxin) มีรูปร่างเป็นผลึกคล้ายขนมเปียกปูนหรือรูปสี่เหลี่ยม ขบวนการสร้างสารพิษนี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างสปอร์ หลังจากเซลล์สร้างสปอร์และสารพิษเสร็จเรียบร้อยแล้ว เซลล์จะแตกสปอร์และสารพิษหลุดออกจากเซลล์
เชื้อแบคทีเรียบีที ฆ่าแมลงได้อย่างไร
เชื้อบีทีแตกต่างจากสารเคมีฆ่าแมลงที่ส่วนใหญ่มักจะถูกตัวตาย แต่เชื้อบีทีกำจัดแมลงศัตรูพืชนั้น แมลงจะต้องกินเชื้อบีทีเข้าไปถึงจะออกฤทธิ์ทำลายแมลงได้ โดยทั่วๆไปเชื้อบีทีจะทำลายเฉพาะตัวอ่อนของเมลงเท่านั้น เช่น ตัวหนอน หรือลูกน้ำยุง จะไม่ทำลายศัตรูพืชระยะที่เป็นไข่หรือตัวเต็มวัย ยกเว้นบีทีบางสายพันธุ์ที่สามาระทำลายได้ทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของด้วงปีกแข็งบางชนิดเมื่อแมลงกินสารพิษ และสปอร์เข้าไปในกระเพาะ น้ำย่อยในกระเพาะมีคุณสมบัติเป็นด่างค่อนข้างสูง จะย่อยสารพิษซึ่งอยู่ในรูป protoxin ให้เป็น active toxin (สารพิษแท้จริง)ซึ่งจะเข้าทำลายเซลล์เยื้อบุผนังกระเพาะอาหาร ทำให้ระบบการย่อยอาหารและระบบทางเดินอาหารถูกทำลาย ระดับความเป็นกรด – ด่างภายในลำตัวของแมลงเปลี่ยนไป ส่งผลให้แมลงเป็นอัมพาตหรือเคลื่อนไหวช้าลง ทำให้แมลงไม่สามารถกินอาหารได้ ขณะเดียวกันเมื่อผนังของกระเพาะอาหารถูกทำลาย สปอร์ของบีทีและเชื้อโรคที่อยู่ในกระเพาะสามารถไหลผ่านจากรูแผลบนผนังกระเพาะเข้าสู่ระบบเลือดของแมลง จะขยายทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้โลหิตเป็นพิษ แมลงจะตายในเวลาต่อมา โดยทั่ว ๆ ไปเชื้อบีทีจะทำลายแมลงโดยใช้ระยะเวลา 2 – 3 วัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของแมลง และปริมาณเชื้อของบีทีที่แมลงกินเข้าไปด้วย
ชนิดของแมลงศัตรูพืชที่สำคัญที่สามารถควบคุมด้วยเชื้อบีที
หนอนใยผัก หนอนคืบกะหล่ำ หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม หนอนร่านกินใบปาล์ม หนอนแปะใบ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนแก้วส้ม หนอนกินสนสามใบ หนอนใยผัก
วิธีการใช้เชื้อบีที
1. ควรอ่านฉลากข้างภาชนะบรรจุเสียก่อน เพื่อให้ทราบว่าเชื้อบีทีชนิดนี้สามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชชนิดใดได้บ้าง มีชื่อแมลงศัตรูพืชที่ต้องการกำจัดระบุอยู่บนฉลากหรือไม่ ทั้งนี้ ในท้องตลาดมีบีทีหลายสายพันธุ์ ประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงจะแตกต่างไป
2. เชื้อบีทีเป็นสิ่งมีชีวิต จะถูกทำลายโดยรังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) จากแสงแดด ดังนั้นจึงควรพ่นบีทีหลังบ่ายสามโมงเย็นไปแล้ว จะช่วยยืดอายุเชื้อบีทีบนต้นพืชให้มีประสิทธิภาพอยู่ได้นานขึ้น
3. แมลงต้องกินเชื้อเข้าไป บีที จึงจะสามารถทำลายแมลงได้ แมลงศัตรูผักบางชนิด เช่น หนอนใยผัก หนอนคืบกะหล่ำ มักอาศัยกัดกินอยู่ด้านล่างของใบ ดังนั้น การพ่นบีทีควรครอบคลุมบริเวณส่วนล่างของใบพืชด้วย จึงจะสามารถควบคุมหนอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การปรับหัวฉีดเครื่องพ่นสารให้ละอองเล็กที่สุดจะช่วยให้ละอองยาเกาะผิวใบได้ดี และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงได้ดีขึ้นการใช้ บีที ในหน่อไม้ฝรั่ง
5. ควรผสมสารจับใบในการพ่นเชื้อบีทีทุกครั้งตามอัตราแนะนำการใช้ที่ข้างขวด
6. การพ่นเชื้อบีทีควรพ่น เมื่อสำรวจพบหนอนตัวเล็ก ซึ่งเป็นหนอนวัยแรก ๆ (วัย 1 – 3) จะให้ผลในการควบคุมดีกว่าการพ่นเชื้อเมื่อพบหนอนตัวใหญ่ (วัย 4 – 5)
7. ไม่ควรผสมเชื้อบีทีกับสารป้องกันกำจัดโรคพืช เพื่อใช้พ่นในคราวเดียวกัน ทั้งนี้ เนื่องจากสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิดอาจทำให้เชื้อบีทีเสื่อมประสิทธิภาพได้
8. เนื่องจากเชื้อบีทีออกฤทธิ์ช้า ใช้เวลา 2 – 3 วัน แมลงถึงจะตาย ดังนั้น การใช้อัตราสูงกว่าคำแนะนำไม่ช่วยให้แมลงตายเร็วขึ้น การใช้อัตราต่ำกว่าคำแนะนำ จะส่งผลทำให้แมลงไม่ตาย และทำความเสียหายแก่ผลผลิต จึงควรใช้เชื้อบีทีตามอัตราที่แนะนำ
9. เมื่อพบการระบาดของแมลงรุนแรง ควรพ่นเชื้อบีทีตามอัตราแนะนำโดยพ่นติดต่อกัน 3 ครั้ง ระยะห่างกัน 3 – 4 วัน จะช่วยลดความเสียหายจากแมลงได้ดีกว่าการพ่นเพียงครั้งเดียว
.................................................................................................................................................................................................................................................